ประวัติ หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ
ชาติกําเนิด ของ หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ
หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ ท่านมีนามเดิมว่า พรหม สุภาพงษ์ ท่านได้ถือกำเนิดมาเป็นบุตรคนหัวปีของ นายจันทร์ สุภาพงษ์ และนางวันดี สุภาพงษ์ เกิดเมื่อวันอังคาร พ.ศ.2431 ปีขาล ณ บ้านตาล ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
บิดาและมารดาของท่านเป็นชาวนาชาวไร่มาตั้งแต่ดั้งเดิมสมัยแต่บรรพบุรุษ ตระกูลนี้นับถือพุทธศาสนาเป็นชีวิตจิตใจมาหลายชั่วคนแล้ว หลวงปู่พรหมท่านมีน้องๆ ที่สืบสายใยสายเลือดทางโลกอีก 3 คน โดยลำดับได้ดังนี้
1 หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ
2 นายพิมพา สุภาพงษ์ (ต่อมาได้ออกบวช เป็นบรรพชิตจนตลอดชีวิต)
3 นางคำแสน สุภาพงษ์
4 นางตื้อ สุภาพงษ์ ต่อมาได้อุทิศชีวิตบวชเป็นชี ได้เจริญอยู่ในธรรมตลอดชีวิตเช่นเดียวกัน
สมัยเป็นฆราวาส เมื่อเติบโตขึ้นมาสู่วัยหนุ่ม ท่านคิดจะมีครอบครัว เพราะคิดว่า “การมี ครอบครัวนั้นเป็นสุข คงจะมีความสุขแน่แท้ ดังนั้น ท่านจึงเข้าปรึกษาบิดามารดาทันที บิดามารดาเห็นชอบด้วยและไม่ขัดข้องเลย จึงได้ จัดหาสตรีที่คู่ควรให้เป็นคู่ครอง
ภรรยาคนแรกของท่านชื่อ “พิมพา” เป็นสตรีสาวสวยประจําถิ่น คือเป็นคนบ้านดงเย็น เมื่อได้แต่งงานกันแล้ว ท่านเริ่มสร้างฐานะครอบครัวได้มั่นคงอย่างรวดเร็ว ทําให้ชีวิตครอบครัวของท่านราบรื่น เป็นที่ยกย่องในความสามารถของท่านประกอบด้วยท่าน เป็นบุคคล ที่มีจิตใจดีมีการให้ทาน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เพื่อนบ้านใกล้เคียงอยู่ เสมอไม่เคยขาด
อุปสมบท

ท่านอุปสมบท ณ วัดโพธิ์สมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดย ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ จูม พันธุโล สมัยเป็นพระราชกวี เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูประสาทคุณานุกิจ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านบวชเมื่ออายุ 37 ปีในครั้งนั้นมีน้องชาย น้องสาว น้องเขย ออกบวชติดตามมาด้วย และได้ยึดมั่นในพระพุทธศาสนาตลอดชีวิตภายหลังจากบวชแล้ว
หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ ได้ออกปฏิบัติเดินธุดงค์ นั่งสมาธิ เดินจงกรมไปถึงพม่า ประเทศลาว และภาคต่างๆในประเทศไทยภายหลังได้ถวายตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่จังหวัดเชียงใหม่ ท่านหลวงปู่พรหม ได้ รับการอบรมธรรมจากหลวงปู่มั่นอย่างเคร่งครัดมาตลอด จนพบกับทางวิมุตติธรรมขั้นสูงได้สําเร็จ
พ.ศ. 2473 หลวงปู่พรหมลาอาจารย์สารกลับภูมิลำเนาเดิม พักอยู่ที่วัดผดุงธรรม(วัดใน) บ้านดงเย็น อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ร่วมกับชาวบ้านสร้างหอไตรขึ้น 1 หลังเพื่อเก็บรักษาพระคัมภีร์ต่างๆ จากนั้นก็ได้ไปบำเพ็ญเพียรที่ถ้ำพระเวส ซึ่งอยู่ห่างจากอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดมุกดาหารมาประมาณ 4 กิโลเมตรหลวงปู่พรหมเล่าให้หลวงตาพระมหาบัวฟังว่า ขณะที่ท่านเดินทางมาถึงดงนั้นก็เป็นเวลาค่ำมืดพอดี เทียนไขก็ไม่มีเหลือติดมาเลย ท่านจึงตัดสินใจพักค้างคืนในดงนั้นโดยปลีกออกจากทางไปเพียงเล็ก้อย แล้วก็แขวนกลดกับกิ่งไม้
ประมาณ ๓ ทุ่ม ขณะที่ท่านกำลังนั่งทำสมาธิภาวนาอยู่ด้วยความหวาดระแวงเรื่องต่างๆอยู่นั้นก็ได้มีอีเก้งตัวหนึ่งด้อมๆ เข้ามาบริเวณที่พักโดยไม่รู้ตัว พออีเก้งโผล่หน้าออกมา ก็มาเจอเอากลดกับมุ้งที่กางและลดลงไว้อย่างมิดชิดพอดี อีเก้งตัวนั้นตกใจร้อง
เก้ก ลั่น ท่านเองก็สะดุ้ง ตกใจสุดขีด เผลอร้อง เอิ๊กอ๊าก ออกมาเช่นกัน อีเก้งตื่นเสียงคน วิ่งหูตั้งตาถลนเตลิดเข้าป่าไป เมื่อท่านได้สติก็นึกละอายในความไม่เป็นท่าของตัวเองจนอดขบขันหัวเราะตัวเองไม่ได้
ขณะที่หลวงปู่พรหมบวชพระได้ 3 พรรษานั้นก็เกิดมีความรู้สึก(กิเลสภายใน)อย่างรุนแรง คิดอยากจะสึกออกมาเป็นฆราวาสวิสัยอีก ทำอย่างไรๆก็ไม่หายที่จะนึกคิด ต้องเร่งพยายามต่อสู้ความคิดภายในนั้น มันเป็นกิเลสมารตัวร้าย สู้กันอย่างหนัก
ถึงกับชวนแม่ชีให้สีกออกไปครองเพศฆราวาสด้วยกันอีก แต่แม่ชีใจแข็ง บอกว่าให้อดทนทำความเพียรอย่างหนักอีก 1 ปีก่อน ถ้ายังอยากสึกอยู่อีกค่อยมาพูดกันอีกครั้ง หลวงปู่จึงได้สติ เร่งทำความเพียรอย่างหนักเพื่อเอาชนะกิเลสให้ได้
หลวงปู่พรหมได้เล่าให้หลวงปู่จามฟังว่า บวชแล้วก็ไปกับครูอาจารย์สาร ลุถึงเมืองอุบล อยู่อุบล ๓ ปี ทีนี้จิตคิดแต่อยากสึก คิดถึงบ้าน คิดถึงเมีย แต่บุญยังรักษา ตอนกลางคืน จะเดินจงกรม จะนั่ง จะยืน ก็ได้ยินแต่เสียงกระดิ่ง กระโล้ง เกราะวัวเกราะควายดัง ทั่วไปหมดในหูนี้ จนนอนไม่หลับ มาพิจารณาดูตนเองว่า จะเอาอย่างใด ทรัพย์ก็ไม่มี เมียก็หนีไปบวช ลูกก็ไม่มี จะออกไปเอาอะไร ทุกข์มิใช่หรือจึงหนีมาบวช
ปฏิบัติธรรมใกล้ชิดหลวงปู่มั่น
ช่วงแรกๆที่หลวงปู่พรหมได้มาพบและปฏิบัติธรรมใกล้ชิดหลวงปู่มั่นที่ป่าเมี่ยงขุนปั๋งนั้น หลวงปู่ตั้งใจทุ่มเทเร่งความเพียรโดยถือเพียงอิริยาบถ ๓ คือ ยืน เดิน และนั่ง เว้นการนอน ไม่ยอมให้กลังแตะพื้นตลอดช่วงเข้าพรรษาโดยถือคติว่า “ธรรมอยู่ฟากตาย ถ้าไม่รอดตายก็ไม่เห็นธรรม เพราะการเสี่ยงต่อชีวิตจิตใจอันเกี่ยวกับความเป็นตายนั้น
ผู้มีจิตใจมุ่งมั่นต่ออรรถธรรมแดนหลุดพ้น เป็นหลักยึดของพระผู้ปฏิบัติพระกรรมฐานจริงๆ” แม้แต่พื้นกุฏิ หลวงปู่พรหมก็ต้องการให้รื้อออกเพื่อจะได้ไม่ต้องนอน ท่านว่าถ้าอยากจะนอนก็ไม่จำเป็นต้องดั้นด้นมาถึงเชียงใหม่ให้ลำบาก จะหลับจะนอนที่ไหนก็ได้
หลวงปู่มั่นจึงกล่าวให้สติท่านว่า “ท่านพรหมอย่าไปทำอย่างนั้นเลย จะทำให้เป็นทุกข์เดือดร้อนแก่หมู่คณะ เพราะสังขารจะต้องพักผ่อนนอนหลับ ถ้าเจ็บไข้ได้ป่วยจะทำให้ลำบากแก่หมู่คณะ… ในการปฏิบัติธรรมเพื่อหลุดพ้นนั้น อุปสรรคต่างๆย่อมได้พบอยู่เสมอ ดังครูบาอาจารย์หลายๆองค์ ถ้าแม้จิตใจไม่แน่วแน่มั่นคงจริงๆก็จะทำไม่ได้
บางคราวผู้อดหลับอดนอนมากๆ สูญประสาท เสียจริตไปก็มี บ้างก็เดินชนต้นไม้ใบหญ้าให้วุ่นวาย หรือไม่ เวลาออกบิณฑบาต เที่ยวตะครุบผู้คนก็มี เพราะเดินหลับใน เกิดอาการตึงเครียด ไม่สามารถทรงสติตนเองได้ อย่างไรก็ตาม ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำให้ปฏิบัติ
เพิ่มสติกำลังให้แก่กล้าจริงๆจึงจะทำได้ เมื่อถึงคราวเร่งความเพียรก็ย่อมจะได้พบความสำเร็จโดยไม่ยาก” หลวงปู่มั่นแนะนำหลวงปู่พรหมให้เดินจงกรมและนั่งสมาธิให้มากเพื่อฝึกจิตเสียก่อน เมื่อกำลังจิตแก่กล้าแล้วจึงค่อยเร่งความเพียรอย่างหนักหน่วงตามความตั้งใจของท่าน ผลย่อมบังเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ออกธุดงค์
พ.ศ. 2478 หลวงปู่พรหมเดินธุดงค์ ไปยังประเทศพม่า ร่วมกับหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ขณะที่หลวงปู่ทั้งสองกลับจากบิณฑบาต ในวันหนึ่งก็ได้พบกับวัดร้างแห่งหนึ่ง พระพุทธรูปเก่าๆแตกหัก พังเกลื่อนเต็มไปหมด ท่านจึงนั่งลงแล้วถวายการสักการะนมัสการ ภายในจิตใจของท่านนั้นได้รำพึงขึ้นว่า “พระพุทธรูปเหล่านี้ไม่มีใครเหลียว แลและซ่อมแซมกันเลย ทิ้งระเกะระกะอยู่เต็มไปหมด
ขณะที่ท่านเดินธุดงค์อยู่ใน ประเทศพม่านั้น หลวงปู่พรหมเคยเกิดนิมิตว่ามีพระภิกษุสงฆ์องค์หนึ่งมาปรากฏกาย ยืนอยู่ต่อหน้าของท่าน พระภิกษุสงฆ์องค์นั้นมีรัศมีกายสีฟ้า และมีแสง ที่สวยสดงดงามตา ระยิบระยับไปทั่วบริเวณนั้น ครั้นแล้ว พระภิกษุสงฆ์ผู้งดงามได้เอ่ยขึ้นกับท่านว่า เราคือพระอุปคุต เธอเคยเป็นศิษย์ของเรา เธอมีนิสัยแก่กล้า
เอาให้พ้นทุกข์นะ แล้วภาพของพระภิกษุสงฆ์นั้น ก็ค่อยหายไป หลวงปู่ขาวก อนาลโยก็เคยเล่าให้หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ ฟังเช่นกันว่าหลวงปู่พรหมนั้นเคยบวชเป็นเณรน้อยพระอุปคุตมาก่อน หลวงปู่พรหมเคยเล่าให้หลวงปู่จามฟังว่า แต่ก่อนเกิดอยู่แม่แตง แม่มาลัย
เป็นลูกศิษย์ของพระโมคคัลลาน์ ในยุคสมัยที่พระอัครสาวกพากันมาจำพรรษาที่วัดบ้านปง ตั้งแต่ก่อนเก่า วัดอรัญญวิเวก ในปัจจุบันตายจากชีวิตนั้นไปสวรรค์ เกิดมาอีกไปเกิดอยู่อินเดีย เป็นลูกศิษย์ของพระอุปคุตตายแล้วไปสวรรค์ ลงมาเกิดอยู่บ้านตาล อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
มรณภาพ ละสังขาล
ในวันที่13 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 ปวงชนชาวไทยก้ได้รับข่าวว่าหลวงปู่พรหมมรณภาพด้วยโรคชราเมื่อเวลา 17.30น. สิรายุได้ 81 ปี พรรษา 436 มีนาคม พ.ศ. 2514 เวลา 22.00 น.ถวายเพลิงศพ อัฐิของหลวงปู่พรหมนั้นกลายเป็นพระธาตุในเวลาอันรวดเร็วโดยใช้เวลาไม่ถึง 1 ปี
ขอขอบคุณบทความชีวประวัติเกจิโดย ufa168