ประวัติ และที่มาของ ไพรีพินาศ วัดบวร
ไพรีพินาศ วัดบวร ถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปศิลาปิดทอง ศิลปะศรีวิชัย ปางประทานพร คล้ายปางมารวิชัย เพียงแต่หงายพระหัตถ์ขวา ประวัติการสร้างไม่ปรากฏแน่ชัด ทราบแต่เพียงว่า มีผู้นำมาทูลเกล้า ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ตั้งแต่ครั้งทรงพระผนวชและประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงเชื่อว่า พระพุทธรูปองค์นี้มีอานุภาพกำจัด
ภัย ให้ผู้ที่คิดร้ายพ่ายแพ้ พระบารมีเรื่องมีอยู่ว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศที่ “เจ้าฟ้ามงกุฎ” เสด็จออกผนวชเมื่อเจริญพระชนมายุครบตามเกณฑ์ ทรงผนวชได้เพียง 15 วัน ก็เกิดเหตุการณ์ผลัดแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระบรมชนกนาถ รัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคต อย่างปัจจุบัน
ตามกฎมณเฑียรบาลแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 หรือ เจ้าฟ้ามงกุฎ ในขณะนั้น ควรจะได้รับราชสมบัติ ต่อจากรัชกาลที่ 2 เพราะทรงเป็นพระราชโอรส ที่มีพระราชสมภพจาก พระอัครมเหสีของรัชกาลที่ 2 คือสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ มีฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า
จัดว่าเป็นอันดับสูงสุดใน พระบรมวงศานุวงศ์ มีฐานะเป็นรัชทายาท และเวลานั้น ตำแหน่งวังหน้าซึ่งถือเป็น ตำแหน่งรัชทายาทก็ยังว่างอยู่ ภายหลังจากที่กรมพระราชวัง บวรมหาเสนานุรักษ์สิ้นพระชนม์ รัชกาลที่ 2 ก็มิได้ทรงตั้งวังหน้า ขึ้นใหม่ตลอดรัชกาล แต่ราชสมบัติกลับมิได้ตกแก่เจ้าฟ้ามงกุฎตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดไว้นั้นเอง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ผู้กำกับดูแลราชการต่างพระเนตร พระกรรณมีอยู่ 3 พระองค์ คือ วังหน้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ กำกับดูแลราชการ แผ่นดินทั่วไป เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี กำกับกรมวังและมหาดไทย กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3
กำกับกรมพระคลังมหาสมบัติ ครั้นเมื่อวังหน้าสิ้นพระชนม์ กรมหลวงพิทักษ์มนตรีก็เข้ามา กำกับดูแลแทน แต่อยู่ได้เพียง 5 ปี ก็สิ้นพระชนม์อีก จึงเหลือเพียงกรมหมื่น เจษฎาบดินทร์พระองค์เดียว ที่กำกับดูแลราชการทั้งหลายทั้งปวง
ไพรีพินาศ องค์จริง
พระไพรีพินาศ องค์จริงตั้งอยู่ที่ พระมหาเจดีย์สีทอง ด้านหลังพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ทางวัดจะเปิดให้คน ที่ศรัทธาขึ้นไปกราบไหว้บูชาเฉพาะในวันพิเศษและสำคัญๆ ไม่กี่วันเท่านั้น คือวันสมภพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ตรงกับวันที่ 3 ต.ค. ทุกปี วันฉลองปีใหม่ 31 ธ.ค. และ 1 ม.ค. และวันสงกรานต์ 13 เม.ย. เป็นต้น
ที่ประดิษฐานพระไพรีพินาศ เป็นเก๋งขนาดพอองค์ พระอยู่ในกำแพงชั้นที่ 2 ของพระเจดีย์ประธาน วัดบวรนิเวศวิหาร ปัจจุบันมีลูกกรงเหล็กติดตั้งไว้แน่นหนาเพื่อความปลอดภัย
ช่วงปลายรัชกาลที่ 2 ไพรีพินาศ วัดบวร

ในช่วงปลายรัชกาลที่ 2 มีผู้ไปหลอก พระจอมเกล้าฯ ที่ทรงผนวชไม่นาน และไปประทับที่ วัดราชาธิวาสว่า รัชกาลที่ 2 ให้เข้าเฝ้าจึงเสด็จมา กลายเป็นเรื่องหลอกให้เก้อ แต่คนที่หลอกมานิมนต์ ไปอยู่ที่โบสถ์วัดพระแก้ว ให้ประทับที่นั่น ขังไว้ 7 วัน จนกระทั่งรัชกาลที่ 3 เสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์แล้ว จึงนิมนต์จากวัดพระแก้วกลับไปวัดสมอรายเหมือนเดิม
พระจอมเกล้าฯ ขณะทรงผนวช เป็นพระนักศึกษาภาษาบาลี วันหนึ่งทรงเข้าแปลในพระอุโบสถวัดพระแก้ว โดยพระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม) วัดโมลีโลกฯ ทำการสอบ พระจอมเกล้าฯ ทรงแปลผ่านประโยค 3-4-5 ตลอด วันที่ 3 หม่อมไกรสร ซึ่งเป็นกรมหลวงฯ กำกับกรมธรรมการถามพระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม) ว่า นี่จะปล่อยกันไปถึงไหน พระจอมเกล้าฯ ได้ฟังเกิดน้อยพระทัย หยุดสอบแต่บัดนั้น จึงเป็นอันว่าพระจอมเกล้าฯ สอบไล่ได้ประโยค 5 ต่อมา รัชกาลที่ 3 โปรดฯ ให้ถือพัดประโยค 9 และทรงสถาปนาขึ้นเป็นพระราชาคณะ
รวบรัดตัดความว่า พระจอมเกล้า ประทับวัดสมอ รายระยะหนึ่ง รัชกาลที่ 3 โปรดฯ ให้เสด็จมา ประทับวัดบวรนิเวศน์ ใกล้หม่อมไกรสรเข้าไปอีก จึงถูกรบกวนง่ายขึ้น นอกจากจับพระสุเมธมุนี พระอุปัชฌาย์ พระจอมเกล้า สึกแล้ว ยังเคยให้คนแกล้งหุงข้าวต้มร้อนๆ ใส่บาตรพระธรรมยุตที่ปกติจะต้องอุ้มบาตรให้ได้รับความเดือดร้อน เรื่องนี้สร้างความ ระกำพระทัยแก่พระจอมเกล้าฯ ยิ่งนัก
ณัฐวุฒิ บรรยายว่า ในที่สุดธรรม ชนะอธรรม หม่อมไกรสรถูกกล่าวโทษร้ายแรง เช่น ชำระความไม่ยุติธรรม กดขี่ข่มเหง และทำเลียนแบบในหลวงองค์ก่อน เช่น ไปลอยกระทงกรุงเก่าบ้าง ที่นครเขื่อนขันบ้าง สมคบกับพวกละครไม่บรรทมกับหม่อมห้าม เพราะติดดาราละคร มีพฤติกรรมน่ารังเกียจหลายอย่างทางด้านกามารมณ์ ที่ร้ายแรงคือ
ถูกกล่าวหาว่าเกลี้ยกล่อมเจ้านายขุนนาง ไว้เป็นพวกมาก จะคิดกบฏหรือ นอกจากนั้นถูกกล่าวหาว่านำเงิน วัดพระพุทธบาท ไปหลายสิบช่างใน 1 ปี จะเลี้ยงไว้ไม่ได้ จึงให้สำเร็จโทษ และถอดจากกรมหลวง ให้เรียกชื่อว่า หม่อมไกรสร ลงพระราชอาญา สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ที่วัดปทุมคงคา เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 2391 ขณะอายุ 58 ปี ส่วนบ่าว 3 คน นำไปประหารชีวิตที่สำเหร่ในวันเดียวกัน
ไพรี ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้น ทรงผนวชอยู่ ณ วัดบวรนิเวศน์ก็ได้พินาศลง ด้วยประการฉะนี้ และเรื่องราวระหว่างพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับหม่อมไกรสรดังกล่าวมาแล้วนี้ นับเป็นเบื้องหลังและเป็นที่มา ของพระนามของพระพุทธรูป
ที่เรียกว่า พระพุทธไพรีพินาศ เพราะในระยะใกล้ๆ กับเวลาที่หม่อมไกรสรถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์นี้เอง พระพุทธไพรีพินาศ ก็ได้เสด็จมาสู่พระบารมีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังปรากฏใน สาสน์สมเด็จ ดังได้กล่าวมาแล้ว

สรุป ไพรีพินาศวัดบวร
หลักฐานที่ค้นพบนามของ พระพุทธรูปองค์สำคัญนี้ว่า “พระไพรีพินาศ” นั้นเป็นกระดาษ พับสอดไว้ใต้ฐาน มีอักษรเขียนว่า “พระสถูปเจดีย์ศิลาบัลลังก์องค์ จงมีนามว่าพระไพรีพินาศ เทอญ และอีกด้านเขียนว่า เพราะตั้งแต่ทำมาแล้ว คนไพรีก็วุ่นวายยับเยิน ไปโดยลำดับ หลักฐานดังกล่าวได้ค้นพบเมื่อวันจันทร์ที่ 30 พ.ย. 2507 ระหว่างซ่อมแซมพระเจดีย์ 96 ปี วัดบวรนิเวศวิหาร
ขอขอบคุณบทความชีวประวัติเกจิอาจารย์ โดย ufa168
**อ่านบทความการลงทุนเพิ่มเติม >> https://ufabets5.com/contentandnews/